ข้าพเจ้า ว่าที่ร้อยตรีศักดาเดช สิงคิบุตร ชื่อเด็กพิเศษเรียก“ครูตี๋”ปฏิบัติหน้าที่ครูสอนนักเรียนออทิสติก อยู่ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายการศึกษาพิเศษ (ศูนย์วิจัยออทิสติก) เป็นครูผู้สอนและ ควบดูแลกิจกรรมอาชาบำบัด ตั้งแต่ปี 2552 ถึงปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ ไม่ทราบว่า อาชาบำบัดคืออะไร อาชาบำบัดมีวิธีการทำอย่างไร ได้เรียนรู้ศึกษาๆ ค้นคว้า ภาคทฤษฏีจากการอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมอาชาบำบัดในเด็กพิเศษที่มีพัฒนาการช้า จากสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และได้ศึกษาปฏิบัติจริงลงเป็นงานวิจัยจากการลงมือทำในภาคปฏิบัติจริง ร่วมกับกัลยามิตรที่ดี พันโทสงกรานต์ จันทะปัสสา หัวหน้าแผนกสัตวบาลและเกษตรกรรมกองการสัตว์ที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบก(ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยสมัยนั้น) หน่วยงานดูแลผสมเทียมม้าและฝึกม้าเป็นสถานที่ ทำกิจกรรมอาชาบำบัดให้กับเด็กพิเศษออทิสติกและเด็กพิเศษต่างๆในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง(กาฬสินธุ์ มหาสารคาม)ครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดี ข้าพเจ้าจึงขอตอบคำถามที่ผู้ปกครองสงสัย มากที่สุด เมื่อคิดที่จะตัดสินใจให้บุตรหลานเข้าร่วมกิจกรรมอาชาบำบัด ดังนี้
คำถาม“การขี่ม้าช่วยพัฒนาเด็กพิเศษได้จริงหรือ”: ผู้ปกครองหรือคนทั่วไปเข้าใจว่า“การขี่ม้า”คือ วิธีการที่คนนั่งอยู่บนหลังม้าทำควบคุมบังคับม้าให้ไปตามทิศทางที่ต้องการ นั้นจะช่วยพัฒนาเด็กพิเศษได้อย่างไร
คำตอบ :“ช่วยพัฒนาเด็กพิเศษได้จริง” โดยใช้วิธีการอาชาบำบัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขี่ม้า ผู้ปกครองต้องเข้าใจความหมายว่า “อาชาบำบัด” หรือการนำม้ามาช่วยในการบำบัด เรียกว่า Hippotherapy ซึ่งคำว่า Hippo มาจากภาษากรีก แปลว่า “ม้า” ส่วนคำว่า therapy แปลว่า “การบำบัด”
อาชาบำบัดเป็นศาสตร์การรักษาโดยใช้สัตว์บำบัด ซึ่งการใช้สัตว์นี้ต้องอยู่ในมาตรฐาน Animal Welfare และการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์(สัตว์ต้องไม่รับการทรมานจนเกินไป)
อาชาบำบัด จัดเป็นวิธีการรักษา ความหมายของการแพทย์ทางเลือก Alternative Medicine หรือ Complementary Medicine คือ การแพทย์ทางเลือกที่สามารถนำไปใช้ทดแทนการแพทย์แผนปัจจุบันหนึ่งจาก ไม่สามารถบำบัดรักษาได้ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันได้ในขณะนั้น
อาชาบำบัดนี้ต้องมี การทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพเช่น แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด ผู้เชี่ยวชาญ ครูการศึกษาพิเศษ หรืออาสาสมัคร (ตามบริบทแต่ละพื้นที่)
อาชาบำบัด มีหลักการและมีวิธีการดำเนินการ มีขั้นตอนของการปฏิบัติ เช่น การตั้งเป้าหมายแผนการฝึกให้เหมาะสมเป็นหลายบุคคล จำนวนอย่างน้อย 12 ครั้งขึ้นไป เน้นความปลอดภัยขณะทำกิจกรรม
หลักการปฏิบัติผู้ปกครองบุคคลออทิสติกหรือเด็กพิเศษ มีความสำคัญมากในการทำกิจกรรมอาชาบำบัดมาก ต้องปฏิบัติดังนี้
- ต้องพาบุคคลออทิสติกเพื่อเข้าทำกิจกรรมอาชาบำบัดให้ครบตามจำนวนครั้งโปรแกรมการฝึก
- มั่นคอยสังเกตพฤติกรรมบุตรหลานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งระหว่างการทำกิจกรรมและหลังทำกิจกรรมอาชาบำบัดเสร็จในแต่ละครั้ง
- พูดให้กำลังใจบุตรหลานในแง่บวก เพื่อกระตุ้นให้บุตรหลานเด็กพิเศษเกิดความมั่นใจในตนเองในการร่วมทำกิจกรรม
หากผู้ปกครองปฏิบัติตามหลักการผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมอาชาบำบัด 3 ข้อ(เท่าที่ทำได้)และเข้าใจว่าอาชาบำบัดคือ????เป็นส่วนหนึ่งของการขี่ม้า ผู้ปกครองก็จะได้คำตอบนี้ด้วยตนเอง
อ้างอิง
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนคินทร์(2557).หนังสือประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการอาชาบำบัดสำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า.กรมสุขภาพจิตเชียงใหม่
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา(ไม่ระบุปี) .บทความอาชาบำบัด. http://www.happyhomeclinic.com/alt13-hippotherapy.htm
ค้นเมื่อวันที่ 26/07/2557
เทวัญ ธานีรัตน์(ไม่ระบุปี) .ความหมายแพทย์ทางเลือก. http://www.thaicam.go.th/index.php?option=com_
ค้นเมื่อวันที่ 26/07/2557